วันกองทัพอากาศ
ทุกวันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี

             ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย จำเป็นจะต้องมีเครื่องบินไว้เพื่อป้องกันภัยการคุกคามที่จะเกิดขึ้นดังนั้น กระทรวงกลาโหมจึงตั้ง " แผนการบิน"  

        การบินของไทยช่วงระยะเริ่มแรกนั้น
มีนักบินเพียง   3   คน  ไปศึกษาวิชาการบิน  ณ  ประเทศฝรั่งเศส  ได้แก่ พันตรีหลวงศักดิ์ศัลยาวุธ 
ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิก  และร้อยโทหลวงทิพย์เกตุทัด 
ทั้งสามท่าน ได้สำเร็จการศึกษาแล้ว
ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ตามลำดับคือ
พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก
พระยาเวหาสานศิลปสิทธ์
และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต
และทั้ง 3 ท่านนี้
ได้รับการยกย่องจากกองทัพอากาศให้เป็น
"บุพการีของกองทัพอากาศ"  

   

     การบินไทยช่วงระยะเริ่มแรกนั้นมีเพียงนักบิน 3 คน และเครื่องบิน 8 ลำ โดยใช้สนามม้าสระปทุม 
( ราชกรีฑาสโมสร)  เป็นสนามบินต่อมา 
ได้ย้ายมาที่ตำบลดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบินแห่งใหม่
เนื่องจากมีความเหมาะสม และความสะดวกมากกว่า
ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2457
กระทรวงกลาโหมได้ยกแผนกการบินขึ้นเป็น
"กองบินทหารบก"

ดังนั้นกองทัพอากาศจึงกำหนดให้วันที่ 27 มีนาคม ของทุกปี
เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"  กระทรวงกลาโหม
ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อจาก
กรมอากาศยานทหาร เป็น
"กรมทหารอากาศ" ในปี พ.ศ.2464
และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "กรมทหารอากาศ"
นอกจากนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบจาก
สีเขียวเป็นสีเทา
และมีการกำหนดยศทหาร

       

 
ต่อมาการทหารอากาศได้ยกฐานะเป็น " กองทัพอากาศ" โดยมีผุ้บัญชาการทหารคนแรกแห่งกองทัพอากาศคือ
นาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ กองกำลังทางอากาศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ
ในการปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติ ในการเข้าร่วมรบ
ในสงครามต่าง ๆ และการเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1
ในปี พ.ศ.2460 ทำให้ประเทศชาติ
ได้รับเกียรติยกย่อง
เป็นอันมาก ดังนั้นราชการจึงได้ยกฐานะ " กองบินทหารบก"
เป็นกรมอากาศยานทหารบก
นอกจากการพัฒนากองกำลังในด้านการสงครามแล้วนั้น
กองกำลังทางอากาศได้มีการพัฒนาประเทศชาติ
ในกิจการหลาย ๆ ด้าน
เช่น การบิน ส่งไปรษณีย์ทางอากาศ
การส่งแพทย์และเวชภัณฑ์ทางอากาศ เป็นต้น

ที่มาของข้อมูล: http://www.tlcthai.com
ที่มาของภาพ : http://images.google.co.th